เครื่องหมายที่ควรมีบนกล่องผลิตภัณฑ์ Skincare

เครื่องหมายที่ควรมีบนกล่องผลิตภัณฑ์ Skincare


เครื่องหมายสัญลักษณ์ต่างๆ บนกล่องบรรจุภัณฑ์ผลิตภัณฑ์ Skincare มีอะไรบ้าง? มีความสำคัญอย่างไร? และสามารถช่วยเพิ่มยอดขายและความน่าเชื่อถือให้แบรนด์สินค้าได้อย่างไร?

BKKPaparBox ได้รวบรวมเครื่องหมายสัญลักษณ์สำคัญที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ Skincare พร้อมแนะนำวิธีการขอใช้เครื่องหมายเหล่านี้ไว้แล้วใบบทความนี้ มาดูกันว่ามีอะไรบ้าง



Period-after-opening Symbol

หรือ PAO symbol เป็นรูปกระป๋อง แล้วมีตัวเลขกำกับ พร้อมตัว M ย่อมาจาก Month แปลว่า เดือน เครื่องหมายรี้หมายถึง เมื่อมีการเปิดใช้แล้ว เครื่องสำอางนั้นๆ จะมีอายุการใช้งานตามจำนวนตัวเลขที่แจ้ง 3M = 3, เดือน 6M = 6 เดือน, 12M = 12 เดือน




2. Estimated Symbol

หรือ e-mark มีลักษณะเป็นรูป ตัว e  หมายถึง ปริมาณที่บรรจุ ตรงตามที่ระบุ เป็นไปตามมาตรฐาน ของสหภาพยุโรป

 


3. Refer to Insert Symbol

สัญลักษณ์ที่มีรูปร่างคล้ายหนังสือ หมายความว่า คุณจะพบคำอธิบายเพิ่มเติมของผลิตภัณฑ์อยู่ด้านในบรรจุภัณฑ์ ในรูปแบบแผ่นพับเล็กๆ เพื่ออธิบายส่วนผสมแบบละเอียด คำเตือน หรือข้อควรระวังต่าง ๆ

 


4. Hypo-Allergenic

หมายถึงการทดสอบทางการแพทย์ที่เป็นมาตรฐานสากล ซึ่งเป็นการทดสอบที่ถูกควบคุมโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านผิวหนังโดยเฉพาะ เพื่อรับรองว่าเป็นผลิตภัณฑ์ที่นั้นมีความอ่อนโยน ไม่ก่อให้เกิดการแพ้และระคายเคือง หรือออกแบบมาเพื่อผิวแพ้ง่าย (designed for sensitive skin)

 


5. Non-comedogenic

หมายถึง ผลิตภัณฑ์ชนิดนั้นไม่มีส่วนผสมที่ทำให้เกิดรูขุมขนอุดตัน

 


6. Dermatologically tested
คือ ชื่อกระบวนการทดสอบที่มีการควบคุมโดยเฉพาะจากแพทย์ผิวหนัง โดยเครื่องหมายนี้แสดงว่าผลิตภัณฑ์นั้นไม่มีแนวโน้มที่จะก่อให้เกิดอาการแพ้หรือระคายเคืองผิวในระยาว เมื่อมีการใช้งานหรือนำมาทาบนผิว เครื่องหมายนี้ใช้ในผลิตภัณฑ์สำหรับเด็กและผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่มีการทดสอบและควบคุม

 

7. SLS/SLES Free
เครื่องหมายนี้จะใช้กับผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่ไม่ใช้สารเคมีที่ชื่อว่า Sodium Lauryl Sulfate (SLS) หรือ Sodium Laureth Sulfate (SLES) ซึ่งเป็นสารทำความสะอาดที่ก่อให้เกิดอาการระคายเคืองต่อผิว มักพบได้ในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์สำหรับเด็ก เช่น แชมพูสระผม สบู่อาบน้ำ น้ำยาซักผ้า



8. Paraben Free
เครื่องหมายนี้จะใช้กับผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่ไม่ใส่สารกันเสียจำพวกกลุ่มพาราเบน เพราะส่งผลอันตรายต่อร่างกาย โดยเฉพาะผิวบอบบาง และแพ้ง่าย

 


9. Silicone Free
เครื่องหมายนี้จะใช้กับผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่ไม่ใส่สารกันเสียจำพวกกลุ่มซิลิโคน เพราะส่งผลอันตรายต่อร่างกาย โดยเฉพาะผิวบอบบาง และแพ้ง่าย

 


10. Non-Toxic
เครื่องหมายนี้ใช้กับผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่ไม่มีส่วนผสมของสารพิษ หรือสารที่ก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อผิว รวมไปถึงต้องไม่มีผลกระทบต่อฮอร์โมนในร่างกายหรือโรคร้าย เช่น มะเร็งผิวหนัง

 


11. Gluten Free
เครื่องหมายนี้แสดงว่าผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางนั้นไม่มีส่วนประกอบของกลูเตน เพราะกลุ่มคนบางกลุ่มมีอาการแพ้สารกลูเตน โดยกลูเตนเป็นส่วนประกอบของโปรตีนในข้าวสาลี ข้าวบาร์เลย์ และข้าวไรย์ มักพบในผลิตภัณฑ์ดูแลเส้นผม ลิปสติกที่ผสมกลูเตนเพื่อให้สีติดทนนาน

 

12. Natural Cosmetic / Natural Product
ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่ผลิตมาจากสารสกัดจากธรรมชาติอย่างน้อย 95% โดยในกระบวนการเพาะปลูกอาจมีสารเคมีบางอย่างที่สามารถดัดแปลงกลายเป็นสารที่อยู่เครื่องสำอางได้ แต่ทั้งนี้ก็เป็นสารที่ไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อผิวหรือสร้างความระคายเคืองที่น้อยมากๆ



13. Organic Cosmetic / Organic Product
ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่ใช้วัตถุดิบที่ได้มาจากธรรมชาติ ไม่มีการปนเปื้อนของสารเคมีในกระบวนผลิต และต้องไม่มีส่วนผสมของสารทำฟอง SLS/SLES, Paraben เป็นต้น

 


14. 100% Vegan Product
ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่ปราศจากส่วนผสมที่ได้มาจากสัตว์ เช่น ขี้ผึ้ง น้ำผึ้ง ไขมันสัตว์ คอลาเจน ไข่ขาว เป็นต้น และต้องไม่ทดลองกับสัตว์



15. Cruelty-free tested on animals
เป็นเครื่องหมายระดับสากลที่รับรองว่า ผู้ผลิตไม่ได้ทำการทดลองในสัตว์ หรือมีส่วนผสมใดๆ ที่ผ่านการทดลองในสัตว์มาก่อนในตลอดทุกขั้นตอนการพัฒนาผลิตภัณฑ์

 


16. Reef Safe
เครื่องหมายนี้จะใช้กับผลิตภัณฑ์กันแดดที่ต้องใช้ในการเล่นกีฬาทางน้ำ หรือ ลงเล่นน้ำในทะเล โดยผลิตภัณฑ์นั้นต้องไม่มีส่วนประกอบ ดังนี้
 Oxybenzone (Benzophenone-3, BP-3)
 Octinoxate (Ethylhexyl methoxycinnamate)
 4-Methylbenzylid Camphor (4MBC)
 Butylparaben
เพราะส่วนประกอบเหล่านี้เป็นสารเคมีที่ไปทำลายระบบนิเวศน์ในน้ำ โดยเฉพาะประการัง เราจะรู้ได้อย่างไรว่า ผลิตภัณฑ์กันแดดของเราไม่มีสารเหล่านี้ ให้ลองดูที่ส่วนประกอบที่ได้จดแจ้งกับทาง อย. หรือสอบถามกับทางโรงงานที่เราแจ้งผลิตครีมก็ได้ค่ะ

 


17. Open Flame
เครื่องหมายนี้จะใช้เมื่อผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางนั้นมีส่วนผสมของสารที่ติดไฟได้ เป็นการแสดงให้ผู้ใช้ก็บไว้ให้ห่างจากประกายไฟ และบริเวณพื้นที่ที่มีอุณหภูมิสูง

 


18. Recycle
เป็นเครื่องหมายที่แสดงว่า พลาสติกที่เป็นส่วนประกอบในการผลิตบรรจุภัณฑ์สามารถนำไปใช้ต่อหรือนำไปรีไซเคิลใหม่ ช่วยลดโลกร้อนได้



19. Green Dot Symbol

วงกลมสีเขียวๆ แล้วมีลูกศรในวงกลม สัญลักษณ์นี้เรียกว่า Green Dot  หมายถึง ผลิตภัณฑ์นี้จะไม่ก่อให้เกิดมลภาวะกับสิ่งแวดล้อม เพราะเงินส่วนหนึ่งที่เราซื้อผลิตภัณฑ์ชิ้นนี้ จะนำไปเป็นค่ากำจัดขยะอย่างถูกต้อง ผู้ผลิตต้องทำสัญญารับรองเงื่อนไข และการใช้เครื่องหมาย Green Dot นี้ หากบริษัทผู้ที่ก่อให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม  จะต้องเป็นผู้ที่จ่ายค่ากำจัดขยะ โดยส่วนใหญ่จะเป็นผลิตภัณฑ์ทางโซนยุโรป เช่น อังกฤษ อิตาลี ฝรั่งเศส หรือเยอรมัน เป็นต้น

สัญลักษณ์ที่รวบรวมมาทั้งหมดนี้ใช้ได้เมื่อคุณได้รับการตรวจสอบอย่างถูกต้องจากหน่วยงานที่ดูแล หากผลิตภัณฑ์ของคุณผ่านตามเกณฑ์มาตรฐานของสัญลักษณ์นั้นๆ แล้ว คุณจึงจะนำสัญลักษณ์นั้นมาใช้ในผลิตภัณฑ์ของคุณได้

 ทำไมต้องมีเครื่องหมายเหล่านี้บนกล่องผลิตภัณฑ์ Skincare? แล้วไม่มีได้หรือไม่?
การมีเครื่องหมายเหล่านี้ช่วยแสดงให้ลูกค้าเห็นว่า ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง Skincare ของคุณได้มีการคิดค้นอย่างละเอียด ผ่านกระบวนการผลิตและได้รับรองมาตรฐาน ซึ่งเป็นการชูจุดเด่นของแบรนด์ อีกทั้งยังช่วยเพิ่มลูกค้าเฉพาะกลุ่มมากขึ้นด้วย เช่น กลุ่มลูกค้ามีผิวบอบแบงแพ้ง่าย กลุ่มลูกค้าที่รักโลก กลุ่มลูกค้าที่รักสัตว์ เป็นต้น นอกจากนี้หากคุณกำลังวางแผนการตลาดส่งออกต่างประเทศ การใช้เครื่องหมายเหล่านี้ก็เป็นที่นิยมกับกลุ่มลูกค้าชาวต่างชาติมากด้วยเช่นกัน

 แล้วไม่มีเครื่องหมายเหล่านี้ได้หรือไม่?
ไม่มีก็ได้ค่ะ ถ้าผลิตภัณฑ์ของคุณไม่ได้อยู่ในขอบข่ายของเครื่องหมายเหล่านี้ แต่ถ้ามีก็จะดีมากกว่า เพราะเครื่องหมายเหล่านี้เป็นการการันตีตัวผลิตภัณฑ์ของคุณให้ผู้ใช้เกิดความมั่นใจ

 ต้องการใช้เครื่องหมายเหล่านี้ ต้องทำอย่างไร?
กรณีที่คุณผลิตแบบ OEM ให้คุณสอบถามจากโรงงานว่ามีเครื่องหมายเหล่านี้รับรองหรือไม่ เพราะโดยปกติแล้วโรงงานผลิตเครื่องสำอางจะรู้ส่วนผสมทั้งหมดและต้องขอรับรองจากหน่วยงานมาแล้ว หากทางโรงงานผ่านมาตรฐานของเครื่องหมายนั้นๆ คุณก็สามารถทำมาใช้กับแบรนด์ของคุณได้เลย

กรณีที่คุณเป็นเจ้าของโรงงานผลิตเครื่องสำอางเอง คุณอาจจะต้องเป็นผู้จัดการดำเนินเรื่องเองทั้งหมดในการขอใช้สัญลักษณ์ ซึ่งหน่วยงานที่สามารถช่วยให้ข้อมูลคุณได้ คือ "สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กลุ่มควบคุมเครื่องสำอาง" สามารถติดต่อไปได้ที่เว็บไซด์ www.cosmetic.fda.moph.go.th 

นอกจากสัญลักษณ์ต่างๆ นี้แล้ว ข้อมูลบนฉลากข้อก็เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้แบรนด์สินค้ามีความน่าเชื่อถือ ฉลากเครื่องสำอาง ที่เจ้าของแบรนด์ควรรู้ มีอะไรบ้าง อ่านต่อที่นี่  ฉลากเครื่องสำอาง ที่เจ้าของแบรนด์ควรรู้

ปรึกษาเรื่องงานออกแบบและผลิต กล่องบรรจุภณฑ์ ฉลากสินค้า กับทีมงาน BKKPaperBox ได้ที่

 พูดคุย ปรึกษา สอบถาม สั่งผลิตงาน Add Line

 Line ID : @bkkpaperbox 
 โทรสอบถามเพิ่มเติม
เอวา 0956519893
เอ็มมี่ 0933264882

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้