บาร์โค้ด มีไว้ทำไม ใครเป็นคนกำหนด?

บาร์โค้ด​ มีไว้ทำไม? ใครเป็นคนกำหนด?

คุณเคยสังเกตสัญลักษณ์แถบสีดำเป็นเส้นตรงหนาบางและมีตัวเลขเรียงบนกล่องเครื่องสำอางไหมคะ? แถบสีดำกับตัวเลขนี้บอกอะไรเราบ้าง?  BKKPaperBox มีคำตอบมาฝากค่ะ

บาร์โค้ด​ คืออะไร?
บาร์โค้ด (Barcode) หมายถึง เลขหมายประจำตัวสินค้า ใช้แทนด้วยแท่งบาร์ขาว-ดำ ประกอบด้วยตัวเลข 8-13 หลัก สามารถอ่านได้ด้วยเครื่องสแกนเนอร์ นิยมใชักับสินค้าอุปโภคบริโภคแทบทุกชนิดและสินค้าสำเร็จรูปต่างๆ โดยจะแสดงอยู่บนฉลากสินค้า รวมไปถึงบนแพ็คเกจบรรจุภัณฑ์ในตำแหน่งที่เห็นได้ชัดเจน



บาร์โค้ดทำอย่างไร?
การทำบาร์โค้ดเจ้าของแบรนด์หรือผู้ผลิต จะกำหนดตัวเลขใส่เองไม่ได้ คุณจำเป็นต้องขึ้นทะเบียนกับทางสถาบันรหัสสากล (GS1 Thailand) สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ได้รับการรับรองจาก Global Standards 1 (GS1) คือ องค์กรที่กำกับดูแลการออกเลขหมายบาร์โค้ดสากล เพื่อให้สินค้าที่ผลิตในแต่ละประเทศมีเลขหมายของตนเอง ป้องกันการทำซ้ำ และเป็นไปตามมาตรฐานเดียวกันทั่วโลก ซึ่งในปัจจุบันมีการใช้งานครอบคลุมกว่า 150 ประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา แคนาดา กลุ่มประเทศในสหภาพยุโรป และจีน เป็นต้น

โดยคุณสามารถขึ้นทะเบียนขอทำบาร์โค้ดโดยตรงได้ที่ เว็บไซด์ www.gs1th.org เป็นเว็บของสถาบันรหัสสากล สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และเมื่อคุณเป็นสมาชิกสถาบันรหัสสากลเรียบร้อยแล้ว จะได้รับ "รหัสบาร์โค้ด" เฉพาะของตนเอง สามารถนำไปใช้กำกับบนสินค้าของคุณได้เลย
 
บาร์โค้ดบอกข้อมูลอะไร?

สัญลักษณ์บาร์โค้ดมีกี่รูปแบบ?

1. Linear Barcode หรือ บาร์โค้ด 1 มิติ มีลักษณะเป็นแถบแท่งสีขาวสลับดำและมีตัวเลขกำกับ
ข้อดี
- มีเทคโนโลยีการจัดเก็บข้อมูลอัตโนมัติที่รวดเร็ว แม่นยำ เกิดข้อผิดพลาดน้อย

ข้อเสีย 
- รูปบาร์โค้ดมีขนาดยาวใช้พื้นที่มาก และบรรจุข้อมูลได้น้อย (บรรจุข้อมูลไม่เกิน 20 ตัวอักษร)
- ไม่สามารถอ่านข้อมูลได้ หากแถบบาร์โค้ดเกิดการหลุดลอก
- ต้องอ่านค่าโดยใช้เครื่องอ่านบาร์โค้ดเท่านั้น
 

2. Two Dimensional Barcode หรือ บาร์โค้ด 2 มิติ มีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยม หรือที่เรียกกันว่า QR Code

ข้อดี
- รูป QR Code มีขนาดเล็กใช้พื้นที่น้อย แและบรรจุข้อมูลได้มากถึง 200 เท่า หรือประมาณ 4,000 ตัวอักษร
- สามารถอ่านข้อมูลได้ แม้ว่ารูป QR Code เสียหายบางส่วน

ข้อเสีย
- มีช่องโหว่ในการใช้งาน หากเราถ่ายรูป QR Code เก็บไว้ในมือถือ อาจมีแฮ็กเกอร์อาศัยช่องโหว่นี้ดักจับข้อมูลบนโทรศัพท์มือถือของเราได้

 
วิธีการจัดวางและการพิมพ์บาร์โค้ดบนแพคเกจจิ้งที่ถูกต้อง
ในขั้นตอการออกแบบจนไปถึงการพิมพ์บาร์โค้ด/ QR CODE มีความสำคัญมาก เพราะการวางบาร์โค้ดผิดตำแหน่ง ขนาดบาร์โค้ดเล็กเกินไป หรือใช้สีไม่ถูกต้อง ส่งผลให้เครื่องสแกนบาร์โค้ดไม่ติด อ่านข้อมูลสินค้าไม่ได้ เกิดความเสียหาย ดังนั้น BKKPaperBox รวบรวมวิธีการจัดวางและการพิมพ์บาร์โค้ดบนแพคเกจจิ้งที่ถูกต้องมาไว้ ดังนี้  

ขนาดของบาร์โค้ด/ QR CODE ควรกว้าง 2 x ยาว 2 เซนติเมตร เป็นอย่างน้อย
ควรออกแบบรูปบาร์โค้ด/ QR CODE เป็นสีดำ เพราะเป็นสีที่มีความเข้มสูงสุด ไม่เกิดความผิดพลาดในการสแกน ทั้งนี้สีที่ควรหลีกเลี่ยง ได้แก่ สีแดง สีน้ำตาล สีขาว โทนสีอ่อนๆ เพราะเป็นสีที่มักสแกนไม่ติด เกิดข้อผิดพลาดบ่อย
จัดวางบาร์โค้ด/ QR CODE ให้เรียบไปบนตัวสินค้า เพื่อให้เครื่องสแกนได้ง่าย
เว้นระยะห่างระหว่างข้อความกับบาร์โค้ด/ QR CODE ไม่ควรชิดติดกันจนเกินไป เพราะจะทำให้เครื่องสแกนยาก


สิ่งที่คุณควรให้ความสำคัญ คือ ก่อนจะพิมพ์บาร์โค้ด/ QR CODE ลงบนบรรจุภัณฑ์ทุกครั้ง คุณควรเทสสแกนก่อนผลิตจริง ด้วยเครื่องสแกนของคุณ เพื่อเป็นการตรวจสอบว่า บาร์โค้ด/ QR CODE นั้นใช้งานได้ สแกนติด อ่านข้อมูลสินค้าได้จริง เพราะพื้นผิวของตัวบรรจุภัณฑ์ก็มีผลต่อการอ่านของเครื่องสแกน

 
บาร์โค้ดมีประโยชน์ต่อการทำธุรกิจอย่างไร?

ผู้ผลิต
สามารถใช้เลขหมายในการค้าขายทั่วโลก
ทราบถึงแหล่งที่มาของสินค้า
ได้ข้อมูลยอดขาย และส่งเสริมการขายได้รวดเร็ว
ควบคุมการขายได้ดี ป้องกันสินค้าขาด
สามารถใช้คอมพิวเตอร์ทั้งระบบในการติดต่อค้าขายกับผู้อื่น 

ผู้ค้าส่ง
ระบบการทำงานมีคุณภาพ เกิดความรวดเร็ว ทั้งการสั่งซื้อสินค้าและการรับ-ส่งสินค้า
ตรวจสอบสินค้าและเช็คสต๊อกาคงคลังได้รวดเร็ว

ผู้ค้าปลีก
ป้องกันการติดราคาผิด
เก็บเงินได้เร็วขึ้น
ทำให้ใช้ประโยชน์กับเนื้อที่ได้สูงสุด
ทำให้การทำงานง่ายและรวดเร็ว เช่น การปรับเปลี่ยนราคา
ประหยัดแรงงานในการให้พนักงานเปลี่ยนราคาและติดราคา
ให้ข้อมูลกับฝ่ายบริหารได้มากขึ้น
บริการลูกค้าได้ดีขึ้น  

ผู้บริโภค
ป้องกันการผิดพลาดเวลาชำระเงิน
ได้รับบริการเร็วขึ้น
ช่วยตรวจสอบข้อมูลผลิตภัณฑ์ได้


จะเห็นได้ว่า บาร์โค้ดสามารถบอกรายละเอียดข้อมูลผลิตภัณฑ์ได้ ช่วยให้เกิดความคล่องตัวในการทำธุรกิจ ดังนั้น หากคุณต้องการทำบาร์โค้ดผลิตภัณฑ์ สามารถติดต่อได้ที่เจ้าหน้าที่งาน Barcode & EDI สถาบันรหัสสากล สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย หรือ www.gs1th.org

ข้อมูลจาก: สถาบันรหัสสากล สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

ปรึกษาเรื่องงานออกแบบและผลิต กล่องบรรจุภณฑ์ ฉลากสินค้า กับทีมงาน BKKPaperBox ได้ที่
พูดคุย ปรึกษา สอบถาม สั่งผลิตงาน Add Line
Line ID : @bkkpaperbox 
โทรสอบถามเพิ่มเติม
เอวา 0956519893
เอ็มมี่ 0933264882

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้