5 ปัจจัย คำนวณราคากล่อง

5 ปัจจัยของการคำนวณราคากล่อง

  • ต้นทุนการผลิต "กล่องบรรจุภัณฑ์" ขึ้นอยู่กับอะไร? 
  • กล่องขนาดเท่ากันทำไมราคาต่างกัน?
  • กล่องแบบไหนที่เหมาะกับสินค้าของคุณ?

BKKPaperBox รวบรวม 5 ปัจจัยที่ส่งผลต่อค่าผลิตกล่องมาฝากเพื่อนๆ ที่สนใจผลิตกล่องสินค้าแบรนด์ตัวเอง ไปดูกันว่ามีอะไรบ้าง

1. ขนาดกล่อง

ขนาดกล่อง ราคาผลิตกล่องขึ้นอยู่กับขนาดไฟล์งานกางออก หรือขนาดกล่องก่อนขึ้นรูป โดยเราสามารถเช็คได้ที่ไฟล์งาน หรือวัดขนาดส่วนที่กว้างที่สุด และส่วนที่ยาวที่สุดของไฟล์งาน ซึ่งค่าผลิตจะสูงขึ้นตามขนาดไฟล์งานที่ใหญ่ขึ้น

การเช็คราคาค่าผลิตคร่าวๆ สามารถทำได้ โดยดูว่า ขนาดไฟล์งานหรือขนาดกล่องก่อนขึ้นรูปของเรา มีขนาด กว้าง x ยาว เท่าไหร่? แล้วนำขนาดที่ได้ไปเช็คกับตารางราคามาตรฐานของโรงพิมพ์ ซึ่งปกติแล้ว โรงพิมพ์จะแบ่งเรทค่าผลิตตามขนาดของกระดาษ เช่น A5 , A4 , A3 , A2 เป็นต้น ซึ่งมีขนาดโดยประมาณ ดังนี้

  • A5 เท่ากับ ขนาดกระดาษ 15 x 21 เซนติเมตร
  • A4 เท่ากับ ขนาดกระดาษ 21 x 29 เซนติเมตร
  • A3 เท่ากับ ขนาดกระดาษ 29 x 42 เซนติเมตร
  • A2 เท่ากับ ขนาดกระดาษ 42 x 59 เซนติเมตร


วิธีเช็คราคาเบื้องต้นด้วยตัวเอง ง่ายๆ

  1. วัดขนาดไฟล์งานกางออก หรือขนาดกล่องก่อนขึ้นรูป ว่ามีขนาด กว้าง x ยาว กี่เซนติเมตร?
  2. เทียบขนาดไฟล์งานที่วัดได้ กับ ตารางค่าผลิตกล่องมาตรฐานว่า อยู่ในเรทขนาดกระดาษแบบไหน?

ยกตัวอย่าง ถ้าขนาดไฟล์งานของเราวัดขนาด กว้าง x ยาว = 20 x 27 cm แปลว่า เรทค่าผลิตกล่องของเราจะอยู่ในขนาด A4 เราก็สามารถดูราคาผลิตจากตารางราคาที่ระบุขนาด A4 ได้เลย

2. จำนวนที่สั่งต่อครั้ง
ยิ่งผลิตมาก ราคาต่อหน่วยจะยิ่งถูกลง

ยกตัวอย่าง ถ้าเราต้องการผลิตกล่องสำหรับแบรนด์น้ำหอม จำนวน 1,000 ชิ้น โดยมีทั้งหมด 10 กลิ่นๆ ละ 100 ชิ้น ทำอย่างไงจะบริหารต้นทุนค่าผลิตกล่องบรรจุภัณฑ์ให้คุ้มค่าที่สุด? ระหว่าง...


แบบที่ 1 ผลิตกล่องใส่น้ำหอม 10 แบบ สำหรับแต่ละกลิ่น จำนวนแบบละ 100 ชิ้น 
รวม 1,000 ชิ้น (10 แบบ x 100 ชิ้น) ค่าผลิตกล่องต่อใบจะอยู่ที่ 20-25 บาท

แบบที่ 2 ผลิตกล่องใส่น้ำหอมแบบเดียวกันทั้งหมด 1,000 ชิ้น ค่าผลิตกล่องต่อใบจะอยู่ที่ 5 บาทต่อชิ้น แล้วออกแบบสติกเกอร์ของแต่ละกลิ่นมาติดบนกล่องอีกที หรือเจาะหน้าต่างที่กล่องให้เห็นชื่อกลิ่นที่ขวดด้านใน 
ซึ่งจะมีค่าใช้จะเพิ่มขึ้นอีก 1 - 3 บาทต่อชิ้น แบบนี้เราจะใช้งบประมาณผลิตกล่องเพียง 6 - 8 บาทต่อชิ้นเท่านั้น

เปรียบเทียบกันแล้วจะเห็นได้ชัดเลยว่า แบบที่ 2 ประหยัดค่าผลิตกว่าแบบแรก เกือบ 5 เท่า!

3. ชนิดของกระดาษ
กระดาษที่นิยมทำกล่อง มีอะไรบ้าง?
 กระดาษอาร์ตการ์ด เป็นกระดาษขาวทั้ง 2 หน้า มีลักษณะพื้นผิวมัน 1 หน้า ส่วนอีกหน้าจะมีลักษณะผิวด้าน  โดยปกติจะมีการเคลือบพื้นผิวอีก 1 ชั้น หลังงานพิมพ์ เพื่อให้กล่องดูสวยงามและสามารถทนความชื้นได้ระดับนึง ส่วนใหญ่นิยมนำไปผลิตกล่องเครื่องสำอาง กล่องอาหารเสริม กล่องยา กล่องขนม ฯลฯ
 กระดาษคราฟท์  เป็นกระดาษสีน้ำตาลทั้ง 2 หน้า พื้นผิวด้าน มีลักษณะเด่นตรงลายเยื่อกระดาษ มักเป็นที่นิยมของคนที่ชื่นชอบงานคราฟท์ งานฝีมือ สามารถย่อยสลายได้ง่าย ส่วนใหญ่จึงถูกนำไปใช้กับกล่องผลิตภัณฑ์ออแกนิก (Organic) ผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อสุขภาพ หรือผลิตภัณฑ์สำหรับเด็ก
 กระดาษฟอยล์  เป็นกระดาษที่มีความสะท้อนแสงมากกว่ากระดาษชนิดอื่นๆ สีที่นิยมใช้ในงานผลิตกล่องแพคเกจจิ้ง ได้แก่ สีเงิน และ สีทอง ส่วนใหญ่จะใช้ผลิตกล่องบรรจุภัณฑ์ที่ต้องการเน้นความพรีเมี่ยมหรือผลิตเนื่องในโอกาสพิเศษ เช่น น้ำหอม เครื่องดื่มรังนก ขนมไหว้พระจันทร์ กล่องเซตผลิตภัณฑ์ช่วงเทศกาลต่างๆ เป็นต้น

 

4. ระบบงานพิมพ์

ปัจจุบันระบบงานพิมพ์กล่องแพคเกจจิ้ง มี 2 ระบบ คือ

 ระบบดิจิตอล (Digital Printing)
คือ การพิมพ์ไฟล์งานโดยต่อตรงระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์กับเครื่องพิมพ์ได้เลย โดยไม่ต้องแยกสีเพลตพิมพ์เหมือนระบบงานพิมพ์สมัยก่อน

ข้อดี คือ สามารถพิมพ์งานได้โดย ไม่จำกัดเรื่องสี ผลิตงานได้เร็ว สีสวย คมชัดตามไฟล์งาน เหมาะกับงานที่ผลิตจำนวนไม่มาก แต่ จะไม่เหมาะกับงานที่มีออฟชั่นหลังงานพิมพ์ 


 ระบบออฟเซต (Offset printing)
คือ การพิมพ์ด้วยชั้นหมึกพิมพ์ที่ถ่ายทอดภาพพิมพ์จากแม่พิมพ์ลงบนวัสดุพิมพ์ทีละชั้นๆ เพื่อให้ได้คุณภาพงานพิมพ์ที่ดี เก็บรายละเอียดในการพิมพ์ได้มาก

ข้อดี คือ ยิ่งผลิตเยอะราคาต่อชิ้นยิ่งถูก ลายเส้นงานพิมพ์คมชัด สามารถเพิ่มออฟชั่นหลังงานพิมพ์ได้

 

5. ไดคัท 

ไดคัท (Die - cut) คือ การตัดแผ่นงานพิมพ์ให้เป็นรูปทรงต่างๆ ตามแพทเทิร์นกล่องหรืองานดีไซน์ที่ทางกราฟฟิกได้ออกแบบไว้

เริ่มต้นจากการทำ "บล็อกไดคัท" โดยใช้ใบมีดดัดเป็นโครงร่างตามแบบที่กำหนด ยึดติดอยู่บนกรอบแผ่นไม้ ซึ่งใบมีดจะมีอยู่ 2 ประเภท
 แบบที่ 1 คือ ใบมีดที่ตัดขาด
 แบบที่ 2 คือ ใบมีดที่ทำให้เกิดรอยพับ

ดังนั้น แบบกล่องที่มีโครงสร้างที่ซับซ้อน มีรอยพับ หรือ มีส่วนเว้าส่วนโค้งมากๆ ก็จะทำให้งานทำบล็อกไดคัทมีความละเอียด ใช้เวลา และใช้จำนวนใบมีดมากขึ้น จึงทำให้ค่าผลิตอาจเพิ่มขึ้นตามไปด้วย

 

ออฟชั่นหลังงานพิมพ์
ข้อนี้เป็นตัวเลือกเสริมที่จะมีหรือไม่มีก็ได้ แต่ก็เป็นตัวช่วยที่จะทำให้กล่องแพคเกจจิ้งดูโดดเด่นกว่ากล่องทั่วๆ ไปได้อย่างมาก

 เคลือบ HOLOGRAM

 เคลือบ SPOT มุก

 Spot UV

 ปั๊มนูน

 ปั๊มเคทอง/เงิน 



ทั้ง 5 ปัจจัย กับอีก 1 ตัวเลือกเสริมที่กล่าวมานี้ จึงเป็นตัวกำหนดต้นทุนการผลิตกล่อง หากคุณเป็นคนหนึ่งที่กำลังจะผลิตกล่องแพคเกจจิ้งและยังไม่รู้ว่าจะเริ่มจากตรงไหนดี สามารถส่งข้อมูลมาปรึกษากับทีมงาน BKKPaperBox ได้ตามช่องด้านล่างทางนี้
 พูดคุย ปรึกษา สอบถาม สั่งผลิตงาน Add Line
 Line ID : @bkkpaperbox 
 โทรสอบถามเพิ่มเติม
เอวา 0956519893
เอ็มมี่ 0933264882 

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้