10 เกณฑ์การเลือกโรงงาน OEM ที่ใช่!

10 เกณฑ์การเลือกโรงงาน OEM ที่ใช่!
แบรนด์จะพัง หรือ จะปัง วัดกันตรงนี้!


การเลือกโรงงาน OEM (Original Equipment Manufacturer) สำหรับการผลิตสินค้าเพื่อสร้างแบรนด์ เป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้แบรนด์ ๆ หนึ่งประสบความสำเร็จหรือไม่? ทีม BKKPaperBox จึงรวบรวม 10 เช็คลิสต์ เพื่อให้เจ้าของแบรนด์ใช้ในการเลือกโรงงาน OEM ที่ใช่! ดังนี้

 

1. ใบอนุญาตและมาตรฐานการผลิต มีหลายรูปแบบและมีรายละเอียดในการตรวจสอบที่แตกต่างกัน หากโรงงานมีใบอนุญาตครบทั้ง 3 ประเภทนี้ ก็สุดยอด! ถ้ามีอย่างให้อย่างหนึ่งก็ถือว่าเพียงพอ

 GMP (Good Manufacturing Practice) คือ มาตรฐานการผลิตของโรงงานที่ช่วยให้คุณรู้ว่า โรงงานนี้มีกระบวนการผลิตสินค้ามีคุณภาพ ปลอดภัย และได้มาตรฐานสากล โดยควบคุมทั้งสถานที่ผลิต อุปกรณ์ กระบวนการผลิต บุคลากร และวัตถุดิบที่ใช้ เพื่อให้มั่นใจว่าสินค้ามีความปลอดภัย ไร้สารปนเปื้อน

กลุ่มโรงงานที่ต้องมี GMP ได้แก่
- อาหาร เช่น โรงงานผลิตอาหารแช่แข็ง อาหารกระป๋อง
- ยา โรงงานผลิตยาสำหรับมนุษย์และสัตว์
- เครื่องสำอาง เช่น ผลิตภัณฑ์บำรุงผิว โลชั่น น้ำหอม
- เวชภัณฑ์และอุปกรณ์ทางการแพทย์

 FDA (อย.) หรือ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เป็นหน่วยงานภายใต้กระทรวงสาธารณสุข เป็นมาตรฐานที่ใช้ในการรับรองผลิตภัณฑ์ เพื่อยืนยันว่าโรงงาน OEM นั้นๆ ผลิตสินค้าที่มีคุณภาพและความปลอดภัย ไม่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภค ตามที่กฎหมายกำหนด

กลุ่มโรงงานที่ต้องมี อย. ได้แก่
- อาหาร เช่น ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร อาหารสำเร็จรูป น้ำดื่มบรรจุขวด
- ยา เช่น ยาแผนปัจจุบัน ยาสมุนไพร
- เครื่องสำอาง เช่น ผลิตภัณฑ์บำรุงผิว โลชั่น น้ำหอม
- อุปกรณ์การแพทย์ เช่น หน้ากากอนามัย เครื่องวัดความดัน
- วัตถุอันตรายที่ใช้ในครัวเรือน เช่น ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด

 ISO Certification แบ่งออกเป็นมาตรฐานของหลากหลายอุตสาหกรรม

ตัวอย่าง 
- ISO 9001 (Quality Management System) ระบบบริหารคุณภาพ ช่วยให้ธุรกิจสามารถปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานและส่งมอบสินค้าหรือบริการที่มีคุณภาพ
- ISO 14001 (Environmental Management System) ระบบจัดการสิ่งแวดล้อม ช่วยให้ธุรกิจลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
- ISO 45001 (Occupational Health and Safety) ระบบบริหารจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในที่ทำงาน
- ISO 22716 (Good Manufacturing Practice for Cosmetics) มาตรฐาน GMP สำหรับเครื่องสำอาง
- ISO 22000 (Food Safety Management System) ระบบบริหารจัดการความปลอดภัยด้านอาหาร

ส่วนเจ้าของแบรนด์จะใช้ ISO ไหนเป็นเกณฑ์ในการเลือกโรงงาน OEM ขึ้นอยู่กับกลุ่มประเทศที่เราต้องการส่งออกสินค้า ว่ากลุ่มประเทศนั้นๆ ให้ความสำคัญกับมาตรฐาน ISO ด้านใด

2. ประสบการณ์และความเชี่ยวชาญ
 เลือกโรงงานที่มีประสบการณ์ ความเชี่ยวชาญการผลิตเฉพาะทาง ในประเภทสินค้าที่คุณต้องการ เช่น โรงงานผลิตสกินแคร์ โรงงานผลิตเครื่องสำอาง โรงงานผลิตอาหารเสริม โรงงานผลิตชากาแฟ โรงงานผลิตภัณฑ์สมุนไพร เป็นต้น เพราะโรงงานผลิตสินค้าแต่ละประเภทมีกระบวนการผลิต การเลือกใช้สารสกัดที่แตกต่างกัน หากคุณเลือกโรงงานเฉพาะทาง จะทำให้คุณมั่นใจว่าได้สินค้าที่มีคุณภาพตรงตามความต้องการจริงๆ


 ตรวจสอบว่ามีทีมวิจัยและพัฒนา (Research and Development -R&D) ที่สามารถพัฒนาสูตรเฉพาะหรือปรับแต่งสูตรตามความต้องการของคุณ เพราะทีม R&D จะช่วยคิดค้นสูตร และช่วยทำหน้าที่ตรวจสอบให้แน่ใจว่าสูตรและวัตถุดิบที่ใช้เป็นไปตามมาตรฐาน เพื่อให้คุณได้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพตอบสนองความต้องการของคุณและผู้บริโภคได้


 ดูผลงานที่ผ่านมาของโรงงาน เช่น มีการผลิตสินค้าให้กับแบรนด์อะไรมาบ้าง โดยคุณตรวจสอบเบื้องต้นได้จากหน้าเว็บไซด์โรงงาน หรือ walk in ไปที่โรงงาน

 

3. คุณภาพวัตถุดิบ
การตรวจสอบคุณภาพวัตถุดิบ ทำให้คุณมั่นใจได้ว่าผลิตภัณฑ์ที่คุณผลิตกับโรงงานนั้น เป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้มาตรฐานและมีการตรวจสอบความปลอดภัย ไม่มีสารปนเปื้อนที่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภค

 ตรวจสอบว่าวัตถุดิบที่ใช้มีคุณภาพและปลอดภัย โดยดูจากใบรับรองของโรงงาน ซึ่งโรงงานในประเทศไทยส่วนใหญ่จะมีการรับรองโดยสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ที่ควบคุมดูแล ดังนั้น คุณสามารถขอดูใบรับรองคุณภาพวัตถุดิบของ อย. จากโรงงานผลิตได้

 กรณีที่เป็นผลิตภัณฑ์เฉพาะทางประเภทออร์แกนิก โรงงานนั้นควรมีใบรับรองวัตถุดิบออร์แกนิก เช่น USDA Organic,  ECOCERT, COSMOS เป็นต้น

 

4. ความสามารถในการผลิต
 ตรวจสอบกำลังการผลิตของโรงงาน ว่าตรงกับความต้องการของคุณ ทั้งในปริมาณน้อย (MOQ) หรือการผลิตจำนวนมาก เพราะจะส่งผลต่อราคาและระยะเวลาการผลิต เช่น ยิ่งผลิตจำนวนเยอะราคายิ่งถูกลง แต่ใช้ระยะเวลาการผลิตมากขึ้น

 โรงงานควรมีเครื่องจักรที่ทันสมัย มีระบบการจัดการที่ดี และมีทีมงานที่เชี่ยวชาญ เพราะจะช่วยให้คุณได้สินค้าที่มีคุณภาพ และรวดเร็ว

 

5. ความโปร่งใสและความน่าเชื่อถือ
 โรงงานควรมีคลิป VDO ให้ดูบรรยากาศและระบบการทำงาน หรือเปิดโอกาสให้คุณเยี่ยมชมสถานที่ผลิต เพื่อให้คุณเกิดความมั่นใจ และรู้จักแหล่งที่ผลิตสินค้าค้าให้คุณ

 มีข้อตกลงที่ชัดเจน ในเรื่องของการแจ้งราคาผลิต การบอกระยะเวลาในการผลิต หรือการแจ้งเงื่อนไขอื่น ๆ เช่น หากพบว่าสินค้ามีปัญหาไม่ตรงตามที่ตกลง โรงงานจะรับผิดชอบอย่างไรได้บ้าง?

 

6. ราคาและต้นทุน
 คุณควรหาโรงงานสัก 2-3 ที่ เพื่อเปรียบเทียบเรื่องราคาควบคู่กับคุณภาพของโรงงาน เพื่อให้มีตัวเลือกมากขึ้น

 ตรวจสอบว่าในราคาที่แต่ละโรงงานเสนอมานั้น มีค่าอะไรรวมมาแล้วบ้าง เช่น ค่าพัฒนาสูตร ค่าบรรจุภัณฑ์ ค่าส่ง เป็นต้น เพื่อนำมาเป็นข้อมูลในการคำนวณต้นทุน

 

7. ความยืดหยุ่นและการให้คำปรึกษาของโรงงาน
เรียกว่า เป็นองค์ประกอบที่ช่วยให้คุณสามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์ได้ตรงตามเป้าหมาย ลดปัญหาในกระบวนการผลิต และเพิ่มโอกาสความสำเร็จในตลาด ซึ่งความร่วมมือที่ดีระหว่างโรงงานและคุณเป็นกุญแจสำคัญในการสร้างผลิตภัณฑ์ที่ตอบโจทย์ผู้บริโภคได้อย่างแท้จริง

การให้คำปรึกษาของโรงงานเครื่องสำอาง มีอะไรบ้าง?
- การให้คำปรึกษาด้านสูตรและส่วนผสม
เช่น ช่วยพัฒนาสูตรเฉพาะมีทีม R&D ของโรงงานช่วยออกแบบและพัฒนาสูตรเครื่องสำอางที่ตรงกับภาพลักษณ์ของแบรนด์ มีการแนะนำส่วนผสมให้ข้อมูลเกี่ยวกับสารสกัดและส่วนผสมที่เหมาะสมกับเทรนด์หรือกลุ่มเป้าหมาย
-การให้คำปรึกษาด้านกฎหมาย
เช่น การจดแจ้งผลิตภัณฑ์กับ อย. มีการช่วยดำเนินการเรื่องเอกสารและการจดทะเบียนเพื่อให้ผลิตภัณฑ์ได้รับการรับรอง
-การให้คำปรึกษาด้านการตลาด
เช่น การสร้างแบรนด์ มีช่วยให้คำแนะนำเกี่ยวกับการสร้างจุดขายและภาพลักษณ์ที่เหมาะสม หรือ การแนะนำเทรนด์ตลาดมีการช่วยคุณเลือกทิศทางผลิตภัณฑ์ที่ตรงกับพฤติกรรมผู้บริโภค
-การสนับสนุนในกระบวนการผลิต
เช่น มีการทดลองผลิตช่วยทดสอบกระบวนการผลิตก่อนเริ่มผลิตในปริมาณมาก มีการปรับปรุงกระบวนการผลิต แก้ไขปัญหาหรือปรับปรุงเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ

 

8. การสนับสนุนด้านการตลาดและแบรนด์
โรงงานบางแห่งอาจมีบริการเพิ่มเติม เช่น การออกแบบบรรจุภัณฑ์ การสร้างแบรนด์ หรือการทำการตลาด เพื่อช่วยให้สินค้าของคุณเป็นที่รู้จักในตลาด

 

9. การรับรองจากลูกค้าหรือรีวิว
 ค้นหาความคิดเห็นหรือรีวิวจากลูกค้าที่เคยใช้บริการโรงงาน
 พิจารณาจากผลงานที่ผ่านมา เช่น แบรนด์ที่โรงงานเคยร่วมงานด้วย
ข้อมูลส่วนนี้สามารถดูได้จากช่องทางการสื่อสารของโรงงาน เช่น  จากหน้าเว็บไซด์โรงงาน ,Facebook , Instagram เป็นต้น

 

10. ความครบวงจรของบริการ  
 โรงงานแบบ One-Stop Service ที่ให้บริการตั้งแต่การพัฒนาสูตร การเลือกบรรจุภัณฑ์ การออกแบบฉลาก ไปจนถึงการยื่นขออนุญาต อย.

 ข้อดี ตอบโจทย์เรื่องความสะดวกสบาย ประสานงานง่าย เหมาะกับเจ้าของแบรนด์ที่ไม่มีเวลา ไม่มีทีมประสานงาน
 ข้อเสีย หากต้องการโรงงานที่เป็นเลิศในทุกด้าน ตั้งแต่การพัฒนาสูตรไปจนถึงการผลิตกล่องบรรจุภัณฑ์ ในความเป็นจริงหาได้ยาก เพราะบางโรงงานเชี่ยวชาญในด้านตัวผลิตภัณฑ์ แต่ไม่เชี่ยวชาญเรื่องบรรจุภัณฑ์ เป็นต้น นอกจากนี้ โรงงานแบบ One-Stop Service มักบวกค่าบริการต่างๆ รวมไปด้วย ทำให้ต้นทุนการผลิตของคุณสูงตามไปด้วย

 โรงงานที่เก่งเฉพาะด้าน เช่น ต้องการผลิตน้ำหอม เลือกโรงงานผลิตตัวน้ำหอม เมื่อได้น้ำหอมมาแล้ว เลือกโรงงานออกแบบและทำกล่องแพคเกจจิ้ง เป็นต้น

 ข้อดี ได้โรงงานที่เก่งเฉพาะทางตรงตามความต้องการของคุณ ทั้งยังช่วยให้คุณคุมราคาต้นทุนได้ เพราะการเลือกโรงงานเอง คุณจะได้ราคาที่ไม่มีค่านายหน้าหรือค่าบริการแฝง และยังต่อรองราคากับโรงงานเองได้
 ข้อเสีย อาจจะประสานงานยาก แต่ถ้าคุณมีทีมประสานงาน หรือจัดระบบการทำงานที่ดีก็จะช่วยได้

ทั้งหมดนี้ คือ เกณฑ์การเรื่องโรงงาน OEM ผลิตสินค้าเพื่อสร้างแบรนด์ ให้แบรนด์คุณได้ผลิตภัณฑ์ที่มีมาตรฐาน ตรงตามความต้องการ และให้ลูกค้าของคุณได้ใช้สินค้าที่มีคุณภาพ

ปรึกษาเรื่องงานออกแบบและผลิต กล่องบรรจุภณฑ์ ฉลากสินค้า กับทีมงาน BKKPaperBox ได้ที่
พูดคุย ปรึกษา สอบถาม สั่งผลิตงาน Add Line
Line ID : @bkkpaperbox 
โทรสอบถามเพิ่มเติม
เอวา 0956519893
เอ็มมี่ 0933264882

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้