"ทรัพย์สินทางปัญญา" ที่เจ้าของแบรนด์ควรรู้
ข้อมูลที่เจ้าของแบรนด์ควรรู้และควรให้ความสำคัญ เพราะทรัพย์สินทางปัญญาเป็นข้อมูลเชิงกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานธุรกิจทุกประเภท BKKPaperBox จะอธิบายแบบเข้าใจง่ายๆ เริ่มกันได้เลย
ทรัพย์สินทางปัญญา คืออะไร?
คือ ผลงานที่เกิดจากการประดิษฐ์ คิดค้น หรือสร้างสรรค์ของคน เป็นผลิตภัณฑ์สินค้าต่างๆ หรือรูปแบบการบริการ แนวคิดในการดำเนินธุรกิจ กรรมวิธีการผลิตในอุตสาหกรรม เป็นต้น
ทรัพย์สินทางปัญญา ประเภทใดบ้างที่เจ้าของแบรนด์ควรรู้
ลิขสิทธิ์ (Copyright)
เมื่อเราคิดงานขึ้นมาหนึ่งอย่างที่เป็นรูปแบบของเราเอง เช่น เมื่อเราออกแบบภาพวาดลวดลายกราฟิกและได้มีการเผยแพร่แล้ว หากมีคนนำไปcopy ดัดแปลง เพื่อเป็นผลงานของตัวเอง แบบนี้เราสามารถดำเนินการทางกฎหมายได้ โดยที่เราไม่ต้องไปจดลิขสิทธิ์ก่อน แต่ต้องตรวจสอบได้ว่าเราเป็นคนคิดคนแรก การเรียกร้องค่าลิขสิทธิ์เป็นไปตามกระบวนการทางกฎมายต่อไป
ตัวอย่างของงานลิขสิทธิ์
งานวรรณกรรม เช่น งานเขียนหนังสือ สื่อสิ่งพิมพ์ โปรแกรมคอมพิวเตอร์
งานนาฎกรรม เช่น ท่ารำ ท่าเต้น
งานศิลปกรรม เช่น งานปั้น งานเขียน ภาพพิมพ์ ภาพถ่ายและศิลปประยุกต์
งานดนตรีกรรม เช่น การสร้างสรรค์ทำนองและเนื้อร้อง
งานสิ่งบันทึกเสียง เช่น ซีดี
งานโสตทัศนวัสดุ เช่น วีซีดี ดีวีดีที่มีภาพหรือมีทั้งภาพและเสียง
งานภาพยนตร์
งานแพร่เสียงแพร่ภาพ เช่น รายการวิทยุ รายการโทรทัศน์
งานอื่นใดในแผนกวรรณคดี วิทยาศาสตร์ หรือศิลปะ
เครื่องหมายการค้า (Trademark)
สัญลักษณ์ ตรา ยี่ห้อ โลโก้ ที่เราได้ยื่นจดทะเบียนการค้าไว้ เพื่อแสดงว่าเราจะใช้ในสินค้าของเรา และเราเป็นเจ้าของแต่เพียงผู้เดียว คนอื่นใช้ไม่ได้ เว้นแต่จะจดอนุญาตคนอื่นใช้เป็นธุรกิจแฟรนไชส์
ตัวอย่างเครื่องหมายการค้า
เครื่องหมายการค้า (Trademark) คือ เครื่องหมายที่ใช้เพื่อระบุว่าใครเป็นเจ้าของสินค้าและใช้จำแนกความแตกต่างของสินค้า เช่น เครื่องหมายการค้า มาม่า, ไวไว เป็นต้น
เครื่องหมายบริการ (Service mark) คือ เครื่องหมายที่ใช้กับธุรกิจบริการ เพื่อใช้แยกแยะความแตกต่างของหน่วยงานที่ให้บริการ เช่น เครื่องหมายการค้า SCB, TTB, Kbank เป็นต้น
เครื่องหมายรับรอง (Certification mark) คือ เครื่องหมายที่เจ้าของให้กับรับรองกับสินค้าหรือบริการของผู้อื่น เพื่อเป็นการรับรองคุณภาพ เช่น เครื่องหมายฮาลาล, ISO เป็นต้น
เครื่องหมายร่วม (Coleective mark) คือ เครื่องหมายที่มีการใช้เป็นกลุ่มธุรกิจ กลุ่มบุคคล เช่น กลุ่มบริษัท SCG, กลุ่มบริษัท PTT เป็นต้น
เครื่องหมายอื่นๆ เช่น เครื่องหมายกลิ่น เครื่องหมายเสียง เป็นต้น
สิทธิบัตร
คือ เอกสารที่รัฐออกให้เพื่อคุ้มครองงานประดิษฐ์ เช่น องค์ประกอบทางวิศวกรรม สูตร กรรมวิธีการผลิตหรืองานออกแบบ ให้กับเจ้าของแต่เพียงผู้เดียว โดยมีระยะเวลาการคุ้มครองที่กำจัด เช่น ในประเทศไทย สิทธิบัตรคุ้มครอง 20 ปี อนุสิทธิบัตรและสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์คุ้มครอง 10ปี แบ่งได้ ดังนี้
สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ (Design Patent)
เอกสารที่เราขอยื่นจดกับกรมทรัพย์สินทางปัญญาว่าเราเป็นเจ้าของผลงาน โดยให้กับคุ้มครองการออกแบบรูปทรง ลวดลาย สีสัน เช่น ลวดลายกระเบื้อง ลวดลายบนเสื้อผ้า รูปทรงกล่อง การดีไซน์กล่อง เป็นต้น
สิทธิบัตรการประดิษฐ์ (Patent)
เอกสารที่เราขอยื่นจดกับกรมทรัพย์สินทางปัญญาว่าเราเป็นเจ้าของผลงาน โดยคุ้มครองงานประดิษฐ์ที่เป็นองค์ประกอบทางวิศวกรรม สูตรหรือกรรมวิธีการผลิต ที่มีความใหม่และมีขั้นการประดิษฐ์ที่สูงขึ้น เช่น ออกแบบทรงกล่องที่ไม่เคยมีใครทำมาก่อน
อนุสิทธิบัตร (Petty Patent)
เอกสารที่เราขอยื่นจดกับกรมทรัพย์สินทางปัญญาว่าเราเป็นเจ้าของผลงาน โดยให้การคุ้มครองงานประดิษฐ์ที่เป็นองค์ประกอบทางวิศวกรรม สูตรหรือกรรมวิธีการผลิต ที่มีความใหม่ โดยส่วนใหญ่จะคุ้มครองงานประดิษฐ์ที่เป็นการต่อยอดเพียงเล็กน้อย เช่น ออกแบบระบบการผลิตกล่องกระดาษที่กินได้
ทำไมต้องจดทรัพย์สินทางปัญญา?
1. เพื่อมอบสิทธิ์ในการเป็นเจ้าของให้กับผู้คิดค้นโดยชอบธรรม
2. เพื่อเป็นรางวัลตอบแทนในความทุ่มเท สร้างสรรค์ให้กับผู้ประดิษฐ์หรือผู้ออกแบบ
3. เพื่อสร้างให้เกิดวัฒนธรรมในการสร้างสรรค์และประดิษฐ์สิ่งใหม่อย่างต่อเนื่อง
4. เพื่อจูงใจให้เกิดการถ่ายทอดเทคโนโลยี การจะส่งมอบหรือซื้อขายงานประดิษฐ์นั้น จำเป็นต้องมีหลักฐานที่เป็นสิ่งรับประกันความเป็นเจ้าของงานประดิษฐ์นั้น
ต้องการเช็คว่าผลงานของเราติดลิขสิทธิ์หรือไม่ จะเช็คได้อย่างไร?
สามารถยื่นเอกสารขอตรวจสอบได้ที่ กรมทรัพย์สินทางปัญญา เว็บไซต์ www.ipthailand.go.th โทร 1368
สนใจและต้องการจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา ต้องทำอย่างไร?
มีองค์กรที่เกี่ยวข้องกับทรัพย์สินทางปัญญาที่ให้คำปรึกษา คำแนะนำ และมีข้อมูลการดำเนินการต่างๆ ดังนี้
1. องค์การทรัพย์สินทางปัญญาระหว่างประเทศ (World Intellectual Property Oganization : WIPO) ทำหน้าที่ส่งเสริมและสนับสนุนทรัพย์สินทางปัญญาระหว่างประเทศ
2. กรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ (Department of Intellectual Propoerty : DIP) ทำหน้าที่ดูแลและรับจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาภายในประเทศ )
3. หน่วยงานทรัพย์สินทางปัญญา ประจำมหาวิทยาลัย (TTO) ทำหน้าที่บริหารจัดการทรัพย์สินทางปัญญาภายในหน่วยงาน เช่น หน่วยงานทรัพย์สินทางปัญญาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, หน่วยงานทรัพย์สินทางปัญญามหาวิทยาลัยมหิดล เป็นต้น
*ขอบคุณข้อมูลจาก กรมทรัพย์สินทางปัญญา
ปรึกษาเรื่องงานออกแบบและผลิต กล่องบรรจุภณฑ์ ฉลากสินค้า กับทีมงาน BKKPaperBox ได้ที่
พูดคุย ปรึกษา สอบถาม สั่งผลิตงาน Add Line
Line ID : @bkkpaperbox
โทรสอบถามเพิ่มเติม
เอวา 0956519893
เอ็มมี่ 0933264882